วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555


                               
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ระบบและวิธีการเชิงระบบ
          การทำงานใด ๆ ให้ประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นย่อมเกิดจากพื้นฐานวิธีการที่มีลำดับและขั้นตอนชัดเจนสามารถปฏิบัติซ้ำ ๆ ได้หลายครั้งอย่างถูกต้องและสมเหตุสมผลทุกครั้งไป เราเรียกกระบวนการและขั้นตอนนั้นว่า  “ระบบ
ระบบ (System)  หมายถึง  การทำงานขององค์ประกอบย่อยๆ  อย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของแต่ละงาน  สามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอน  ระบบจึงเป็นหัวใจสำคัญของงานหรือการดำเนินงานทุกประเภท
             วิธีการเชิงระบบ (System Approach)   วิธีเชิงระบบหรือวิธีระบบคือคำๆเดียวกันเป็นกระบวนการคิดหรือการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้านต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอนฃเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้วิธีระบบยังเป็นการช่วยป้องกันและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นด้วย
วิธีการเชิงระบบและการแก้ปัญหาทั่วไป
1. ทำความเข้าใจปัญหา
     - ระบุปัญหา/โอกาสในเชิงบริบทของระบบ
     - รวบรวมข้อมูลเพื่ออธิบายปัญหาและโอกาส
2. พัฒนาทางเลือก
     - ระบุทางแก้/ทางเลือกในการแก้ปัญหา
     - ประเมินในแต่ละทางเลือก
     - เลือกทางแก้ที่ดีที่สุด
3. ปฎิบัติการแก้ปัญหา
     - ปฎิบัติการตามทางแก้ที่เลือกไว้
     - ประเมินความสำเร็จของการปฎิบัติตาม ทางเลือก
ความหมายของระบบสารสนเทศ
    ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)
     ระบบสารสนเทศ  หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ  (FAO Corporate Document Repository, 1998)  ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย คน เครื่องจักรกล(machine)  และวิธีการในการเก็บข้อมูล   ประมวลผลข้อมูล  และเผยแพร่ข้อมูล ให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศของผู้ใช้ (Information system, 2005)
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
การจำแนกองค์ประกอบระบบสารสนเทศมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับเกณฑ์หรือวัตถุประสงค์ของแต่ละงาน  ในที่นี้จำแนกเป็น  2  ประเภท ได้แก่  องค์ประกอบหลัก  และองค์ประกอบด้านต่าง ๆ
ระบบการคิด  หมายถึง  กระบวนการและขั้นตอนในการจัดลำดับ  จำแนก  แจกแจง และจัดหมวดหมู่ข้อมูลต่างๆ  เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและเผยแพร่  ระบบการคิดจึงเป็นจุดเริ่มต้น  ที่สำคัญของงานสารสนเทศทั้งระดับพื้นฐานและระดับสูงที่มีความสลับซับซ้อนจนต้องใช้ทักษะการจัดการและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง เข้ามาใช้ในการดำเนินงาน
ระบบเครื่องมือ  หมายถึง  วัสดุอุปกรณ์  หรือเครื่องมือ ที่นำมาใช้ในการรวบรวม   จัดเก็บ และเผยแพร่ สารสนเทศให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นเครื่องมือในการจัดการสารสนเทศที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในองค์กร หน่วยงาน หรืองานธุรกรรมต่างๆ แทบทุกวงการจนทำให้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกลายเป็นสัญลักษณ์ของสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ(Information System)  คือ  การประมวลผล  ข้อมูล  ข่าวสาร  อย่างเป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการ เพื่อให้ข้อมูลในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด และเป็นข้อสรุป ที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนการบริหาร และการตัดสินใจ ทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลางและระดับสูง ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่จัดตั้งขึ้น เพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูล ดังต่อไปนี้
1)รวบรวมข้อมูลทั้งภายใน ภายนอก ที่จำเป็นต่อหน่วยงาน 
          2) 
จัดกระทำเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ได้ 
           3) 
จัดให้มีระบบเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้ 
          4) 
มีการปรับปรุงข้อมูลเสมอเพื่อให้อยู่ในสภาพที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันตลอดเวลา
ข้อมูลและสารสนเทศ
ดังที่กล่าวมาแล้วว่าการทำงานใด ๆ ที่ได้ผลดีจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องครอบคลุมและตรงประเด็นประกอบการตัดสินใจในการเลือกวัตถุดิบ  เนื้อหาสาระ บุคลากร  และวิธีการปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยการจำแนกแจกแจง  จัดหมวดหมู่และการประมวลผลข้อมูลที่เกี่ยวข้องทุกด้าน อย่างเป็นระบบที่เรียกว่าสารสนเทศ จึงนับได้ว่าข้อมูลและสารสนเทศ มีประโยชน์ต่อการดำเนินงานของบุคคลและหน่วยงาน
  1. ข้อมูล (data) ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ มีคุณลักษณะเป็นวัตถุสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และต้องเป็นสิ่งมีความหมายในตัวมันเองซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของรูปภาพ  แสง  สี เสียง  รส  นอกจากนี้ข้อเท็จจริงอาจจะอยู่ในรูปของคุณสมบัติเป็นน้ำหนัก  แรง  อุณหภูมิ จำนวน ซึ่งสามารถแทนค่าด้วยตัวเลข  ตัวอักษรข้อความก็ได้ อย่างไรก็ตามข้อมูลที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มีหลายระดับตั้งแต่ข้อมูลเบื้องต้นหรือข้อมูลดิบจนถึงข้อมูลสารสนเทศ   ซึ่งแต่ละอย่างมีความหมาย